วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมอิสลาม (ISESCO)

ข้อมูลทั่วไป
            ISESCO (Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization) เป็นองค์กรชำนัญพิเศษด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของ องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 (1982) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก ปัจจุบัน มีสมาชิก 50 ประเทศ ทั้งหมดเป็นสมาชิก OIC มีสมาชิกสังเกตการณ์ (Observer Member) 3 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย Turkish Cyprus และประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ เมื่อ 19 พฤษภาคม 2550 ISESCO มีคณะผู้แทนถาวรประจำ UNESCO ที่กรุงปารีส มีสำนักงานภูมิภาคในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รัฐชาร์จาห์) อิหร่าน โคโมรอส และชาด

วัตถุประสงค์
  • ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก
  • พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีภายในกรอบจริยธรรมของอิสลาม
  • เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาวมุสลิม และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลก โดยใช้มาตรการด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร
  • สนับสนุนความร่วมมือระหว่างองค์กรด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและการสื่อสารของ OIC
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมอิสลาม ป้องกันการรุกรานทางวัฒนธรรม และธำรงเอกลักษณ์ของอารยธรรมอิสลาม
  • ปกป้องอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมในประเทศที่มิใช่อิสลาม (Non-Islamic Countries) ส่งเสริมวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิมนอกโลกอิสลาม
  • ใช้วัฒนธรรมอิสลามเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับชั้น

โครงสร้างและกลไกขององค์กร
การประชุมทั่วไป (General Conference)
  • ในการประชุมทั่วไปจะประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและการสื่อสารที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ โดยจะประชุมทุกๆ ปี การประชุมครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่ กรุงริย่าห์ ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี 2555 ซึ่งในการประชุมนี้ได้มีการเลือกตั้ง ประธานการประชุมสมัยสามัญ ได้แก่ ดร. Khalid bin Mohammed Al Ankari รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการระดับอุดมศึกษาแห่งซาอุดิอาระเบีย
คณะกรรรมการบริหาร (Executive Council)
  • มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการบริหาร การจัดทำร่างระเบียบวาระการประชุมของ General Conference และจัดทำรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการเงินการคลัง โดยการประชุม Executive Council ครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 32 จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ ISESCO กรุงราบัต ประเทศโมร็อกโก เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 โดยมี ดร. Aboubakar Dakoury เป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริหาร
สำนักผู้อำนวยการใหญ่ (General Directorate)
  • ผู้อำนวยการใหญ่ ISESCO ได้รับการคัดเลือกโดย General Conference มีวาระดำรงตำแหน่ง ปี ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ Dr. Abdulaziz Othman Altwaiji ชาวซาอุดีอาระเบีย ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2534 (1991) ล่าสุด เมื่อปี 2552 ได้รับการแต่งตั้งซ้ำ วาระ วาระละ ปี (จะหมดวาระในปี 2558)
The Federation of the Universities of the Islamic World: FUIW
  • มีผู้อำนวยการฯ เป็นเลขาธิการโดยตำแหน่ง และมีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในโลก มุสลิม โดยมีมหาวิทยาลัยอิสลามเป็นสมาชิกทั้งหมด 198 มหาวิทยาลัย
ISESCO Center for Promotion of Scientific Research: ICPSR
  • ตั้งอยู่ในสำนักงานผู้อำนวยการ ที่กรุงราบัต เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในประเทศมุสลิม
The Islamic Body on Ethics of Science and Technology: IBEST
  • เป็นหน่วยงานของ ISESCO ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการนำมาปรับใช้ตามหลักศาสนาอิสลาม
            ในการเป็นสมาชิกของ ISESCO จะต้องมีสถานะเป็นสมาชิกหรือเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC เงินงบประมาณส่วนใหญ่นั้นจะได้มาจากการบริจาคของประเทศสมาชิกโดยจะต่างกันออกไปตามแต่ข้อตกลงของแต่ละประเทศ โดยผู้บริจาครายใหญ่ก็คือ ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรต ลิเบีย อิหร่าน และอิรัก ซึ่งมีอัตราการบริจาคอยู่ระหว่าง 4-10 เปอเซ็นต์

ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่สำคัญของ ISESCO 
            ปัจจุบัน ISESCO มียุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการที่สำคัญ คือ
  • ยุทธศาสตร์วัฒนธรรมสำหรับโลกมุสลิม (Cultural Strategy for the Islamic World) ที่สำคัญได้แก่ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอิสลาม รวมทั้งในเยรุซาเล็ม (Al Quds) อัฟกานิสถานและอิรัก การแก้ไขปัญหาภาพลักษณ์ของอิสลาม โดยร่วมมือกับสมาชิก และองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ UNESCO และการสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
  • ยุทธศาสตร์สำหรับแผนปฏิบัติการทางวัฒนธรรมอิสลามนอกโลกอิสลาม (Strategy for Islamic Cultural Action outside the Islamic World) หัวใจสำคัญได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมอิสลามร่วมกับชุมชนมุสลิม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่างๆ ทั้งยุโรป ลาตินอเมริกา แคริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก กิจกรรมที่สำคัญในปัจจุบันเช่น โครงการฝึกอบรมอิหม่าม (Programme for the Training of Imams) ซึ่งเน้นการปลูกฝังค่านิยมความอดทนอดกลั้น (tolerance) การยึดทางสายกลาง (moderation) และความสมานฉันท์ โดยได้ดำเนินโครงการนี้ในสิงคโปร์ด้วย นอกจากนั้น ยังมุ่งสนับสนุน Culture of Peace ในชุมชนมุสลิมในประเทศที่มิใช่อิสลามด้วย
  • แผนปฏิบัติการของโลกอิสลามว่าด้วยการสานเสวนาระหว่างอารยธรรม ( Executive Programme on Dialogue Among Civilizations) ซึ่ง มุ่งเสริมปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยน และการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโลกอิสลามกับอารยธรรมอื่น โดยอาศัย กิจกรรมทางการศึกษา วัฒนธรรม สังคม วิทยาศาสตร์ และการสื่อสารและสารนิเทศ นอกจากนั้น ISESCO สนับสนุน Alliance of Civilizations ของ UN ด้วย ทั้งนี้ ISESCO ได้แต่งตั้งทูตด้านการสานเสวนา ระหว่างอารยธรรม (Ambassador on Dialogue among Civilizations) ซึ่ง รวมทั้ง ดร มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียด้วย
  • ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาในประเทศมุสลิม (Strategy for Promotion of Education in Islamic Countries)
  • ยุทธศาสตร์สนับสนุนการอุดมศึกษาในโลกมุสลิม (Strategy for Promotion of University Education in the Islamic World)
  • ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Strategy for the Promotion of Cultural Tourism) ที่สำคัญได้แก่ โครงการคัดเลือก/จัดเฉลิมฉลองเมืองในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในโลกอาหรับ เอเชีย และแอฟริกา ให้เป็น Islamic Culture Capitals ทั้งนี้ เมืองในทวีปเอเชียที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา และธากา
  • ยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารในโลกมุสลิม (Strategy for the Development of Information and Communication Technologies in the Muslim World) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ICT ของประเทศสมาชิก เช่น การอบรมบุคลากร ให้คำแนะนำ และช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านนี้

ภารกิจและกิจกรรมสำคัญในระยะปัจจุบัน
            ปัจจุบัน ISESSCO ได้มีแผนปฏิบัติการสามปี (2556-2558) โดยได้มีการระบุวัตถุประสงค์ของแต่ละแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนและเจาะจงมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิผลในความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในการที่จะพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และ ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมแก่คนภายนอกเพื่อแก้ปัญหากลัวอิสลาม (Islamophobia)โดยในแผนปฏิบัติการชุดล่าสุดนี้ได้มีการแบ่งออกเป็น ด้าน ดังนี้
     1. ด้านการศึกษา จะให้ความสำคัญในสองส่วน คือ
          · พัฒนาระบบการศึกษาของประเทศสมาชิก โดย รับรองการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพของการศึกษา และสร้างประสิทธิภาพระบบการศึกษาระบบอุดมศึกษาให้สมารถแข่งขันกับนานาชาติได้
          · สนับสนุนบทบาทของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้การศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อม สุขศึกษา และประชากร และการศึกษาคุณค่าร่วมกันของโลกมุสลิม
2.      ด้านวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็นสามส่วน คือ
          · พัฒนาขีดความสามารถด้าน วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี โดยคิดค้นและพัฒนานโยบายทางด้าน วิทยาศาสตร์ เสริมสร้างขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
          · อนุรักษ์ระบบนิเวศน์ โดยนำวัตถุดิบทางธรรมชาติมาใช้อย่างยั่งยืน และมีการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากหายนะทางสิ่งแวดล้อม
          · ใช้ประโยชน์จากความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อความสงบสุขในสังคม โดยสนับสนุนความร่วมมือในสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้การดูแลของ ISESCO Center for Promotion of Scientific Research (ICPSR)
3.      ด้านสังคมและการสื่อสาร แบ่งเป็นสองส่วน คือ
            · การใช้วัฒนธรรมและมรดกของแต่ละสังคมในการเป็นเครื่องมือหล่อหลอมสังคมร่วมกัน พร้อมยังเป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจ 
            · สร้างสังคมแห่งข้อมูลความรู้และทัศนคติร่วมกัน โดยการสนับสนุนการแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ รวมถึงการเข้าถึงการใช้ข้อมูลพื้นฐานได้อย่างอิสระ

            นอกจากนี้ แผนปฏิบัติการยังเสริมสร้างความร่วมมือกับกิจกรรม และแผนงานระดับย่อยโดยการแบ่งประเภทกิจกรรมเป็น ประเภท และจัดตั้งหน่วยงานใหญ่เพื่อบริหารเฉพาะทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ 

          · ด้านที่ ปัญหาเด็กและสตรี
          · ด้านที่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และประชากร
          · ด้านที่ การศึกษา และงานทางด้านสังคม สำหรับชาวมุสลิมที่อยู่นอกโลกมุสลิม
          · ด้านที่ การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ศาสนาอิสลาม และ ชาวมุสลิม
          · ด้านที่ การศึกษาขั้นอุดมศึกษา และ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ความร่วมมือต่างๆ กับองค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
            ISESCO มีความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อาทิเช่น UN OIC UNESCO WHO UNHCR UNDP IDB WML Arab League เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ISESCO ให้ความสำคัญการร่วมประชุมระหว่างประเทศในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น World Conference on Education for All ที่ประเทศไทย เมื่อปี 2533 (1990)

ความร่วมมือระหว่างไทยกับ ISESCO
  • การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับ ISESCO เป็นส่วนหนึ่งในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับOIC กลุ่มประเทศอิสลามและประชาคมมุสลิมทั่วโลก โดยนับแต่ที่ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ของISESCO เมิ่อปี 2550 ได้เข้าร่วมการประชุม และกิจกรรมต่างๆ ของ ISESCO อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของ ISESCO อย่างต่อเนื่อง อาทิ การประชุม Islamic Conference of Environment Ministers ที่กรุงราบัต โมร็อกโก เมื่อเดือนตุลาคม 2551 การประชุมใหญ่ ISESCO ครั้งที่ 10 ที่กรุงตูนิส เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 และการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมของ OIC ครั้งที่ ที่กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน เมื่อเดือนตุลาคม 2552
  • การดำเนินการที่สำคัญของ ISESCO ในไทย เช่น ร่วมจัด World Conference on Education for All ที่ประเทศไทย เมื่อปี 2533 (1990) การสนับสนุนการจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง International Conference on Higher Educational Institutions and Peace Education in Asia : Experiences and Challenges โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของ ISESCO ที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมสันติภาพ (Culture of Peace) ในชุมชนมุสลิม ชนกลุ่มน้อยมุสลิมนอกโลกอิสลาม 
  • ทางไทยได้ยื่นร่างพิธีสารความร่วมมือไทย-ISESCO เพื่อให้ ISESCO รับรอง ในปี 2554 โดยเมื่อพิธีสารได้รับการรับรองแล้ว ทางการไทยก็จะนำเรื่องไปเสนอรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือตามพิธีสารต่อไป 
  • ผู้อำนวยการใหญ่ ISESCO ได้มีกำหนดการเดินทางมาเยี่ยมไทยในช่วงต้นปี 2556 แต่ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน 



แหล่งที่มา : http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=609











SWOT องค์กรที่สนใจ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น