การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายใน
ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม (SWOT)
โรงเรียนวัดอมรินทราม (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร)
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๖๖/๑ ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ ๑๐๗๐๐
วิสัยทัศน์
ภายใน พ.ศ. 2562 โรงเรียนวัดอมรินทราราม มุ่งเน้นวิชาการ ก้าวทันเทคโนโลยี มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1.จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานสากล มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างยั่งยืน
2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย นำความรู้และค่านิยมหลัก 12 ประการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต
3.พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ โดยยึดหลักการบริหารใช้โรงเรียนเป็นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
4.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตามาตรฐานวิชาชีพ
5.พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสานความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสร้างเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์
1.พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
2.พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี โดยนำความรู้ ค่านิยมหลัก 12 ประการและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ โดยยึดหลักการบริหารใช้โรงเรียนเป็นฐานและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
4.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ
5.พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสานความร่วมมือ ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตลอดจนสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
เป้าประสงค์
1.นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานสากล มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างยั่งยืน
2.นักเรียนมีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย นำความรู้และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต
3.ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ
4.โรงเรียนมีระบบบริหารการจัดการด้วยระบบคุณภาพ โดยยึดหลักงานบริหารใช้โรงเรียนเป็นฐาน และมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
5.โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และประสานความร่วมมือระหว่างบ้านชุมชนและโรงเรียน ตลอดจนสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์การจัดการศึกษา
1.) กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
1. พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และความเป็นไทย
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพยึดหลักการมีส่วนร่วม
4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพตามสมรรถนะตรงตามสายงาน และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
5. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้
2.) กลยุทธ์ระดับกลุ่มงาน
1. พัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน
2. สนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามหลักองค์ 4 แห่งการเรียนรู้
3. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. ปลูกฝังค่านิยมหลัก 12 ประการ
5. ส่งเสริมให้นักเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย
7. พัฒนาระบบบริหารด้วยระบบคุณภาพโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม
8. พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
9. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
10. สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
11. สร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา
12. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในด้านทักษะทางวิชาการ
13. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยพิจารณาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้าน ผลผลิตและการให้บริการ บุคลากร ประสิทธิภาพทางการเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียนวัดอมรินทราราม มีรายละเอียดดังนี้
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในของโรงเรียน (SWOT)
จุดแข็ง (S)
1. บุคลากรรุ่นใหม่ มีความรู้ ความสามารถในการจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2. โรงเรียนสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่ อย่างสม่ำเสมออย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ
3. มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และมีความพอเพียง
4. มีการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการการบริหารจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียน
|
จุดอ่อน (W)
1. โรงเรียนขาดอัตรากำลังบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ
เฉพาะทาง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สถานที่และแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ อุปกรณ์
โสตทัศนูปกรณ์ภายในโรงเรียนมีจำกัด ทำให้ไม่เอื้อต่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางชิ้นที่มีอายุการใช้งานก่อน
ปีการศึกษา 2554 มีประสิทธิภาพต่ำเมื่อต้องใช้งานกับ
โปรแกรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน เครื่องมือบางส่วนใช้ประโยชน์
ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
มีประสิทธิภาพต่ำ
4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพต่ำ
5. ครูและบุคลากร ส่วนมากในโรงเรียนขาดความชำนาญใน
การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
โอกาส (O)
1. มีเครือข่ายการเรียนรู้ ทั้งองค์กรขององค์กรการศึกษา
ระดับเขตพื้นที่ และระดับอุดมศึกษาทำให้เกิดการ
ประสานงานแลกเปลี่ยนทั้งด้านการจัดการบริหาร
เทคโนโลยีสารเสนเทศ
2. หน่วยงานภายนอกและต้นสังกัดให้การสนับสนุนบุคลากร
ในการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
อุปสรรค (T)
1. การใช้เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคของโรงเรียนมีผลต่อ
ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกับทางโรงเรียน
|
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในของโรงเรียน
ด้านโอกาส จากสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนวัดอมรินทราราม มีเครือข่ายการเรียนรู้ ทั้งองค์กรขององค์กรการศึกษา ระดับเขตพื้นที่ และระดับอุดมศึกษาทำให้เกิดการ ประสานงานแลกเปลี่ยนทั้งด้านการจัดการบริหารเทคโนโลยีสารเสนเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานภายนอกและต้นสังกัดให้การสนับสนุนบุคลากร ในการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอนอยู่เสมอ
ด้านอุปสรรค โรงเรียนมีความจำเป็นทางด้านสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัญหาที่ติดตามมาคือค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ด้านจุดแข็ง โรงเรียนสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนให้ดีมากยิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เสียสละในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โรงเรียนจัดสรรงบประมาณเพียงพอมีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยมีความพอเพียงที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพด้านการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนด มีการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียน
ด้านจุดอ่อน โรงเรียนขาดอัตรากำลังบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะทาง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันผู้ที่ดูแลการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากครูมีภาระหน้าที่สอน จึงทำให้ไม่สามารถดูแลและพัฒนาการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางชิ้นมีอายุการใช้งานก่อนปีการศึกษา 2554 มีประสิทธิภาพต่ำเมื่อต้องใช้งานกับโปรแกรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน เครื่องมือบางส่วนใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพต่ำ สถานที่และแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีจำกัด ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนในบางรายวิชา ครูและบุคลากรในโรงเรียนขาดความชำนาญในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
จัดทำโดย
นายดนุพล นิโอ๊ะ รหัสนิสิต 6014650644
นางสาวกัญญาวีร์ เทียนขุน รหัสนิสิต 6014651535
นางสาวนิศาชล มิ่มกระโทก รหัสนิสิต 6014651594
นางสาวโรสนี เฉลิม รหัสนิสิต 6014651641
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น