วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แปลบทความวิจัย "หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในการศึกษา"



บทคัดย่อ
           หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่กาลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสื่อสาคัญในการจัดการเรียนรู้ บทความนี้เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มาใช้อย่างไร ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งในการเรียนเต็มเวลาและการเรียนทางไกล การวิจัยดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม บทความนี้แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมหาวิทยาลัยออสตราวา นอกจากนี้ผู้วิจัยยังใช้เครื่องมือหลายประเภทในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย บทความนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างและเผยแพร่การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนเต็มเวลาและการเรียนทางไกล

1. บทนำ
          การเรียนรู้โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ถือเป็นแนวคิดใหม่ เป็นเครื่องมือที่สามารถพกพาได้ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถใช้งานได้โดยอาศัยแค่มือเดียวเท่านั้น การเรียนรู้โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เกิดขึ้นและขยายขอบเขตของการวิจัยทางการศึกษารวมถึงมีการนำไปใช้ในโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอย่างรวดเร็ว รวมถึงในที่ทำงาน ปัจจุบันโดยทั่วไปมีการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการติดต่อสื่อสารหรือการอ่านหนังสือและการใช้สื่อมัลติมีเดีย แท็บเลตเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้เพียงแค่ในการสอนเท่านั้น ผู้เรียนสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกันได้ วาดไดอะแกรม จดบันทึก จัดการภาระงานหรือการบ้าน รวมถึงการดูวิดีโอบรรยายและอื่นๆอีกมากมาย ตามแผนภาพแสดงการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ใช้งาน
         การใช้แท็บเลตในการเรียนผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาหรับการเรียนรู้ได้ดีกว่า สามารถใช้งานได้ทุกๆที่ เก็บเนื้อหาจากการเรียนการสอนได้ในปริมาณมากและไม่ได้ใช้ในการเก็บเนื้อหาสาหรับการอ่านเท่านั้น แต่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารได้เช่นกัน

2. บทนำ
            ในปี 2004, 2013 และ 2014 มีการวิจัยกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 2013 ทำการสารวจกับนักศึกษาจำนวน 113 คน เป็นนักศึกษาที่เรียนเต็มเวลาจานวน 66 คน และเรียนทางไกลจานวน 47 คน ในปี 2004 ทำการสำรวจกับนักศึกษาจำนวน 63 คน โดยใช้แบบสอบถาม ในปี 2014 ใช้นักศึกษาที่เรียนเต็มเวลาจานวน 56 คน และเรียนทางไกล 42 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดความสนใจหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแอพพลิเคชั่นในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ สมาร์ทโฟนที่นักศึกษานิยมใช้มากที่สุดคือสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้ใช้จำนวน78% ระบบอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ iOS 12% วินโดว์โฟน 8% แบลคเบอรี่ 1% และอื่นๆ 1% นอกจากนี้แท็บเลตซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ประเภทหนึ่งยังเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยนักศึกษาในสถาบันการศึกษานิยมใช้แท็บเลตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแท็บเลตที่นิยมใช้มากที่สุดคือแท็บเลตที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้ใช้งานจำนวน 76% และ iPad (iOS) จำนวน 24% นอกจากนี้จำนวนของนักศึกษาที่คาดว่าจะซื้ออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มาใช้งานแสดงให้เห็นว่าการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น มีนักศึกษาถึง 37% ที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการจะซื้อโน๊ตบุ๊คและมีนักศึกษาเป็นจำนวน 37% ที่ต้องการจะซื้อแท็บเลต

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแอพพลิชั่นในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการศึกษา
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นนั้นมีประโยชน์ดังนี้
- จัดจำหน่ายและหาซื้อได้ง่าย
- สำรองและจัดเก็บข้อมูลได้สะดวก
- สามารถปรับขนาดตัวอักษรได้
- เพิ่มข้อความลงในมัลติมีเดียได้
- สามารถใช้อุปกรณ์ได้หลายประเภทในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
- มีอุปกรณ์จำนวนมากที่สามารถใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้


          ปัจจุบันรูปแบบของไฟล์ที่เหมาะต่อการใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดคือ pdf และ epub หรือ mobi
ซึ่ง epub และ mobi เหมาะต่อการใช้งานกับแท็บเลตหรือ e – reader เนื่องจากมีผู้เรียนและผู้สอนจำนวนมากที่ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแอพพลิชั่นสำหรับการจัดระบบการเรียนการสอนขึ้นมา และจากการสำรวจพบว่าผู้ใช้งานจำนวน 76% มีความสนใจในแอพพลิเคชั่นที่สามารถเข้าถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดการเรียนรู้ขอ งมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งแอพพลิเคชั่นแรกที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า eOSU เป็นเสมือนห้องสมุดสาหรับการเรียนการสอน
แอพพลิเคชั่นนี้มีสื่อที่อยู่ในรูปของไฟล์ pdf และ HTML รวมถึงแอนิเมชั่น เสียง และวิดีโอ ในการสร้างสื่อจะแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน โดยในขั้นตอนแรกจะให้ผู้สอนเขียนเนื้อหาหรือเตรียมแอนิเมชั่น วิดีโอ ฯลฯ และในขั้นตอนที่สองโปรแกรมเมอร์จะแปลงข้อความให้อยู่ในรูปแบบสุดท้าย แอพพลิเคชั่นที่สอง คือ OSU timeable ทำให้ผู้เรียนสามารถจัดการกับตารางเรียนของตนเองได้ แอพพลิเคชั่นจะแสดงตารางเรียน ข้อมูลของวิชาที่เรียน ตำแหน่งในห้องเรียน ฯลฯ แอพพลิเคชั่นที่ 3 คือ OSU info เป็นแอพพลิเคชั่นที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนในมหาวิทยาลัยออสตราวา ทั้ง 3 แอพพลิเคชั่นนี้สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และ iOS สาหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์โฟนยังไม่รองรับการใช้งานแอพพลิเคชั่น สามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ได้โดยการใช้เว็บบราวเซอร์เท่านั้น ผู้วิจัยได้ใช้ MediaSite ซึ่งเป็นวิดีโอบันทึกการบรรยาย ประกอบด้วย 2 หน้าต่าง ในหน้าต่างแรกแสดงให้เห็นสไลด์นาเสนอสำหรับการบรรยาย และหน้าต่างที่สองคือครูผู้สอน ทั้งสองหน้าต่างจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ผลการสำรวจในปี 2014 แสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่ใช้งานวิดีโอบันทึกการบรรยายเป็นนักศึกษาที่เรียนทางไกลถึง 67% และมีนักศึกษาที่เรียนเต็มเวลาจำนวน 29% เท่านั้น ผู้วิจัยใช้ LMS Moodle ทั้งในการเรียนทางไกลและการเรียนเต็มเวลา ผู้เรียนสามารถเข้าถึง LMS
(Learning Management System) ได้ทั้งจากการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ และสามารถใช้ได้ทั้งเว็บบราวเซอร์หรือแอพ Moodle Mobile ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นจำนวน 23% เท่านั้น จากจำนวนการใช้งานที่ยังน้อย เนื่องจากนักศึกษายังไม่รู้จักแอพพลิเคชั่นดังกล่าว สำหรับการเตรียมสื่อการสอนในรูปแบบ pdf รูปแบบนี้ไม่สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้และไม่เหมาะกับการใช้ใน Kindle มีความเป็นไปได้ที่จะมีหนังสือที่เป็นมัลติมีเดียอยู่ในรูปของแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า iBooks Author

ข้อดี
- สร้างสื่อมัลติมีเดียได้ง่าย
- บรูณาการเข้ากับแอพพลิเคชั่น iBooks ได้ง่าย
- แอพพลิเคชั่นนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย
- สามารถใช้งานได้แค่ในระบบ iOS Mac OS X ไม่สามารถใช้ได้ในระบบแอนดรอยด์
- มีรูปแบบที่ไม่เป็นมาตรฐาน
        ความสำคัญของการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการขายโทรศัพท์มือถือสามารถขายได้มากกว่าคอมพิวเตอร์ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ไม่ได้ปรากฏอยู่เพียงแค่ในทางเทคนิคเท่านั้น แต่ปรากฏอยู่ทางด้านการศึกษาด้วยเช่นกัน แนวคิดทางด้าน e – learning มีแนะนำอยู่ในแนวคิดของ m – learning ซึ่งมุ่งเน้นการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในทางด้านการศึกษา มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อให้สามารถนำอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มาใช้งานในทางด้านการศึกษาได้ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการนามาใช้สาหรับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนจากการสารวจพบว่าผู้เรียนหลายคนสนใจแอพพลิเคชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ มีความเป็นไปได้ที่จะยังคงมีการใช้แอพพลิเคชั่นและเป็นแหล่งเก็บรวบรวมที่เหมือนกับ iTunes หรือสามารถสร้างขึ้นมาเป็นของตนเองได้

อ้างอิง
Rostislav Fojtik . 2558. Ebooks and mobile devices in education. [ออนไลน์]. URL :
www.sciencedirect.com. วันที่สืบค้น 15 ตุลาคม 2560

สมาชิกในกลุ่ม
1.นายดนุพล นิโอ๊ะ
2.นางสาวกัญญาวีร์ เทียนขุน
3. นางสาวนิศาชล มิ่มกระโทก
4. นางสาวโรสนี เฉลิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น